หน้าเว็บ

Learning Log

Learning Log 1
Monday 5th August 2019

     วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียน วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยกับ อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ ท่านชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในรายวิชาในส่วนของเนื้อหาและการฝึกปฏิบัติในห้องเรียน เน้นให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์การสอนในการจัดการเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย

     อาจารย์มอบหมายงานให้ทำแฟ้มสะสมผลงานอิเลคทรอนิคส์ในการเรียนการสอน และจัดกลุ่ม5คนเพื่อปฏิบัติงานกลุ่มในสัปดาห์ถัดไป

ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา การแต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดชัดเจน


Learning Log 2
Monday 19th August 2019




   วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เคยสอนเพื่อทวนความรู้ให้นักศึกษา ดังนี้
-พัฒนาการ หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งความสามารถตามลำดับขั้นจากการแสดงออกทางพฤติกรรมง่ายไปสู่ขั้นยาก
-การเล่น คือวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดดยการลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
-วิธีการสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ

   เครื่องมือในการช่วยสอน
1.สื่อ
2.คำคล้องจอง
3.นิทาน
4.เพลง

ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดชัดเจนและสอนเพลงใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จัก


Learning Log 3
Monday 26th August 2019


อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเป็น5กลุ่มและเขียนสาระการเรียนรู้เพื่อนำมาจัดประสบการณ์6กิจกรรมหลัก


กลุ่มที่1 เรื่อง ต้นไม้


กลุ่มที่2 เรื่อง นม


กลุ่มที่3 เรื่อง ครอบครัวหรรษา


กลุ่มที่4 เรื่อง ยานพาหนะ


กลุ่มที่5 เรื่องแรกรับประทับใจ


ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดชัดเจนและคอยบอกสิ่งที่ควรแก้ไข


Learning Log 4
Monday 2nd September 2019


อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะในแบบของตนเอง ดดยมีเนื้อหาคือ กิจกรรมพื้นฐาน กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาและกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

กิจกรรมพื้นฐาน
1.ให้เด็กๆหาพื้นที่เป็นของตนเองใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายเด็กๆเว้นระยะห่างกับเพื่อนรอบข้าง พยายามไม่ให้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายชนกับเพื่อน
2.ให้เด็กๆเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะที่คุณครุกำหนดให้ ดังต่อไปนี้
          เคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว
          เคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว
          เคาะรัว ก้าวไปข้างหน้ารอบห้องตามจังหวะการเคาะ
          เมื่อได้ยินจังหวะเคาะสองครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดเคลื่อนไหวและยืนอยู่กับที่
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
3.ให้เด็กๆออกมาเคลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบริบบิ้น เช่น เคาะรัวให้เด็กสะบัดริบบิ้นขึ้นสูงๆ
เคาะ2ครั้งให้เด็กๆก้าวไปข้างหน้า2ก้าวพร้อมสะบัดริบบิ้นไปด้วย
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
4.ให้เด็กๆนอนราบกับพื้น ทำตัวตามสบายสูดลมหายใจเข้าออก

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ อธิบายงานอย่างละเอียด แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา


Learning Log 5
Monday 9th September 2019


อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และคอยบอกข้อควรแก้ไขต่างๆ และอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาอัดคลิปวิดิโอการสอนในหน่วยตามแผนที่ตนเขียน


ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้
ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา


Learning Log 6
Monday 16th September 2019


วันนี้อาจารย์ให้มาเรียนรวมกัน2ห้อง เพื่อให้แต่ละกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมการศึกษา

กลุ่มที่ 1 นวัตกรรม"ไฮสโคป"
   เป็นการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติผ่านมุมการเล่นที่หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ความสำคัญในดานพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำเพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิด ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง
   แนวการสอนแบบไฮสโคป ใช้หลักการปฏิบัติ3ประการ
1. การวางแผน Plan
2. การปฏิบัติ Do
3. การทบทวน Review
   ประโยชน์ของแนวการสอนแบบไฮสโคปที่มีต่อเด็ก
1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น เรื่องต้นจากความไว้วางใจโดยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็ก
2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็่กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย


กลุ่มที่ 2 นวัตกรรม"ไฮสโคป"
   วงล้อการเรียนรู้ของไฮสโคปคือ เมื่อเด็กได้เรียนรู้แบบลงมือทำเด็กจึงสร้างองค์ความรู้ได้ตั้งแต่การมีส่วนเลือกและตัดสินใจเอง วิธีนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากกว่าเป็นฝ่ายรับ กาารมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งกับครูและเพื่อนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ระหว่างกันจึงมีดอการแก้ปัญหาต่างๆ การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เด็กมีสื่อให้เล่นอิสระหลากหลายและเพียงพอ การมีกิจวัตรประจำวันทำให้เด็กได้พบประสบการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะประสบการณ์เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะได้รับเมื่อผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของครูที่จะประเมินพัฒนาการเด็ก
   หัวใจของไฮสโคป
เน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านการเล่นด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์และความคิด ส่งเสริมให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างกระตือรือร้น


กลุ่มที่ 3 นวัตกรรม"Project Approch"
   คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในเรื่องที่เด็กสนใจ มีคือต่อการเรียนรู้อาจจะทำโดยกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน
   วิธีการสอนมี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 วางแผนโครงการ เป้นช่วงเวลากำหนดจุดประสงค์ว่าเด็กต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้เน้นกระบวนการแก้ปัญหาจัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมกันวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือจัดนิทรรศการแสดงผลงาน


กลุ่มที่4 นวัตกรรม"STEM"
   เป็นคำย่อของศาสตร์4สาขาวิชา S=Science T=Technology E=Engineering M=Mathematics
หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้ง4ที่มีความเชื่อมโยงกันในดลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆมาบูรณาการเข้าด้วยกัน สะเต็มศึกษาเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประดยชน์ต่การดำเนินชีวิต
   สะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ
1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรราการ
2. ช่วยเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาทั้ง 4 วิชากับชีวิตประจำวัน
3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21
4. ท้าทายความคิดของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความเห็น


ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อน
ประเมินเพื่อน  ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา


Learning Log 7
Monday 23th September 2019


กลุ่มที่ 5 นวัตกรรม"EF(Effective Functions)"
   เป็นกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก การกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน
   ช่วงวัย 3-6 ปีเป็นวัยทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุด พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอต้น แม้จะยังพัฒนาได้แต่จะพัฒนาได้ไม่ดีเท่าช่วงเด็กปฐมวัย


   ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน
1. Working Memory ความจำที่นำมาใช้งาน
2. Inhibitory Control การยั้งคิด
3. Shift การยืดหยุ่นความคิด
4. Focus การใส่ใจจดจ่อ
5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์
6. Planning การวางแผน
7. Self-Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง
8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย


กลุ่มที่ 6 นวัตกรรม"EF(Effective Functions)"
   คือกระบวนการทางความคิดในส่วนสมองส่วนหน้า
-เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้จัดการชีวิต
-ช่วงวัย 3-6 ปีของเด็กจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการพัฒนา
-ทักษะ EF จะช่วยกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
-ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนและจัดการงานต่างๆให้สำเร็จลุล่วง
   ประโยชน์ของ EF
1. ส่งผลให้มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนสำเร็จ
2. รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้
3. เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็นมีความมุ่งมั่น
   ข้อจำกัดของ EF
1. ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
2. ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
3. อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง
4. มีปัญหาในการเข้าสังคม
5. มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท
6. มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต
7. เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง


กลุ่มที่ 7 นวัตกรรม"Project Approch"
   การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่ครูหรือเด็กร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ เด็กเรียนรู้ได้โดยประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
   วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ
ระยะที่1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่2 ระยะวางแผนโครงการ กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร
ระยะที่3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้
ระยะที่4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ


กลุ่มที่ 8 นวัตกรรม"STEM"
   แนวทางจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรราการทางความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21


กลุ่มที่ 9 นวัตกรรม"มอนเตสเซอรี่"
   จุดมุ่งหมายของการศึกษามอนเตสเซอรี่ คือ ช่วยพัฒนาหรือให้เด็กมีอิสรในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่าง ๆ อย่างมากมาย
   ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของพัฒนาการเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มี
   เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสเซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเองและความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ


กลุ่มที่ 10 นวัตกรรม"มอนเตสเซอรี่"
   หลักการของมอนเตสเซอรี่มี 5 ประการ
1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ผู้ใหญ่ต้องยอมรับในแบบที่เขาเป็น
2. เด็กมีจิตซึมซาบได้ เด็กสามารถซึมซาบข้อมูลทุกอย่างได้ง่าย
3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต ช่วงนี้เด็กๆสามารถเรียนรู้ทักษะเฉพาะได้อย่างดี ควรหมั่นสังเกตความสนใจ
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
5. การศึกษาด้วยตนเอง มอนเตสเซอรี่มีความเชื่อว่า "ไม่ควรช่วยเด็ก ๆ ในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าทำได้" การศึกษาด้วยตนเองทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย ได้ทดลองแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง


ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังและสนใจเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา



Learning Log 8
Monday 21th October 2019


กิจกรรมที่ 1 เป็นการเรียนที่มีแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่เป็นแบบอย่าง และมีการพูดคุยในเรื่องของกิจกรรมการสอนในแบบต่าง ๆ 
   กิจกรรมการเคลื่อนไหวมี 2 ส่วน คือ
1. การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การสไลด์ การคลาน
2. การเคลื่อนไหวแบบเนื้อหาสัมพันธ์ คือ การเคลื่อนไหวแบบคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย การเคลื่อนไหวแบบผู้นำ-ผู้ตาม การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
   กิจกรรมกลางแจ้ง ควรมีรูปแบบการสอนโดยการสาธิตให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหา วิธีการทำกิจกรรมซึ่งกิจกรรมกลางแจ้งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
   กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีรูปแบบการสอนที่ต้องสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้เด็กเกิดคอนเซปการเรียนที่มีลำดับขั้นตอน

กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 4 คนและอาจารย์แจกกระดาษมากลุ่มละ 1 แผ่น ให้วาดแหล่งน้ำและให้เพื่อนทายสถานที่นั้น



กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างแทงค์น้ำโดยสร้างมาจากหนังสือพิมพ์ และมีเทปกาวให้อย่างจำกัด สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับน้ำหนักของพานและหนังสือจำนวน 8 เล่ม เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มต่างช่วยกันคิดและแก้ปัญหาให้กระดาษสามารถรองรับน้ำหนักของสิ่งของ




กิจกรรมที่ 4 อาจารย์แจกหลอดมากลุ่มละ 10 อันและลูกปิงปองจำนวน 1 ลูก ให้นักศึกษาช่วยกันสร้างฝายน้ำให้ลูกปิงปองกลิ้งได้นานที่สุด


สรุป : ทุกกิจกรรมที่อาจารย์ให้เราทำนั้นสอดคลองกับนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบ STEM 
มีการบูรณาการกับทุกวิชา

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงาน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา


Learning Log 9
Monday 28th October 2019


การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนรู้จากวิทยากร ผ.ศ.กรรณิการ์ สุสม และได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อ
เรื่อง สารนิทัศน์
   ความหมาย สารนิทัศน์มาจากคำว่า "สาระ" หมายถึงส่วนสำคัญ มาผสมกับคำว่า "นิทัศน์" หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลายโดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน การจัดทำสารนิทัศน์จึงหมายถึงการจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็กที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา
   คุณค่าและความสำคัญ
เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ดดยการไตร่ตรองและการสะท้อนความคิดรวมถึงการประเมินตนเอง
1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2. ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง
3. ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5. เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
   รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
2. หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นรายบุคคล
   กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ดดยวิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองแลพสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่
   ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรมเด็ก
3. Portfolio
4. การสะท้อนตอนเอง
   การพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
1. ประเมินตามสภาพจริง ได้แก่ ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก ประเมินผลงานและชิ้นงาน
2. ประเมินโดยการทดสอบโดยใช้แบบวัด เช่น แบบทดสอบ
   การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย
เป็นรูปแบบของการแสดงออกทางความคิดที่สามารถและอธิบายได้อย่างเป้นระบบชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วยความคิดหรือข้อมูลสำคัญ ที่เชื่อมโยงกันในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลที่กระจายอยู่ให้เป็นระบบง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้จดจำได้นาน


Learning Log 10
Monday 11th November 2019


วันนี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนจัดสภาพแวดล้อมของห้องปฎิบัติการ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย


ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน


Learning Log 11
Monday 18th November 2019


วันนี้เราเรียนในเรื่องของ ไฮสโคปกับการส่งเสริมEF กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำคือการปรบมือตามจังหวะเพลงและแสดงท่าทางตามจินตนาการและเริ่มทำเป็นกลุ่มใหญ่คือทั้งห้อง มีการจับคู่และและสลับกับเพื่อนที่คู่ด้วยกันเป็นผู้นำและผู้ตาม ต่อมาเป็นการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คนจับมือเป็นวงกลมและให้เพื่อน 1 คนมายืนตรงกลางแสดงท่าทางเมื่อเพลงหยุดก็ให้เพื่อนคนที่ต้องทำตามเดินออกมาเกาะไหล่ทำแบบนี้ซ้ำๆจนครบ จากนั้นทำกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัสและความจำในการเริ่มทำกิจกรรมโดยการเคาะกระดาษบนพื้น

   



ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา


Learning Log 12
Monday 25th November 2019


อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนการจัดประสบการณ์คนละ 1 เรื่องในหน่วยการเรียนใดก็ได้ ดังนี้


1. กฤษณา กบขุนทด
หน่วย ของเล่นของใช้


2. วิภาพร  จิตอาคะ
หน่วย นม


3. วสุทธิดา คชชา
หน่วย นม


4. ขนิษฐา สมานมิตร
หน่วย นม


5. วิจิตรา ปาคำ
หน่วย นม


6. สุดารัตน์ อาสนามิ
หน่วย สัตว์


7. สุภาพร วัดจัง
หน่วย ส่วนต่างๆของต้นไม้


8. รัตนา พงษา
หน่วย ครอบครัว


9. สุภาวดี ปานสุวรรณ
หน่วย ภูเขาไฟระเบิด


10. มารีน่า ดาโร๊ส
หน่วย ประโยชน์ของต้นไม้


11. ปรางทอง สุรีวงษ์
หน่วย หักและผลไม้


12. บงกชกมล ยังโยมร
หน่วย ห้องภายในบ้าน


13. อุไรพร พวกดี
หน่วย วัฏจักรฝน


14. สิริวดี นุเรศรัมย์
หน่วย ฝน


15. อภิชญา โมคมูล
หน่วย ไข่


16. ชนนิกานต์ วัฒนา
หน่วย กลางวัน-กลางคืน


17. สุชัญญา บุญญะบุตร
หน่วย รางกายของฉัน

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการปฏบัติงาน
ประเมินอาจารย์ แนะนำวิธีการสอนต่างๆให้นักศึกษา